สนามบินภูเก็ต เป็นสนามบินที่มีเครื่องบินจากประเทศต่างๆมาลงจอดจำนวนมาก ช่วงปกติมีประมาณ 44 ประเทศ ขณะที่ช่วงเทศกาลมีถึง 56 ประเทศ โดยเฉลี่ยแต่ละวันมีเครื่องบินลงจอดประมาณ 200 เที่ยวบิน โดยเฉพาะช่วงเทศกาลตรุษจีนมีประชาชนเดินทางมาภูเก็ตด้วยสายการบินสูงสุดกว่า 40,000 คน น่าดีใจว่าสนามบินภูเก็ตได้รับงบประมาณจากรัฐบาล 5,147.4 ล้านบาท ขยายสนามบินออกไปอีก 1 ใน 3 เพื่อให้เป็นสนามบินสากล ทั้งยังเป็นการเตรียมการเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนในปี 2558 อีกด้วย
นายสุเทพ ยงยุทธ์ ผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคถลาง ที่มีวิทยาลัยตั้งอยู่ใกล้สนามบิน ผู้เฝ้ามองการบินขึ้นบินลงและการทำงานของผู้ปฏิบัติงานบนภาคพื้นดินที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามภาระกิจในแต่ละวัน ที่ดูแล้วมีทั้งความเรียบง่ายและมีสิ่งที่น่าท้าทายไปในเวลาเดียวกัน จึงเป็นที่มาถึงแรงบันดาลใจในการเปิดสอนหลักสูตรวิชาช่างอากาศยาน เพื่อรองรับความต้องการของธุรกิจสายการบิน โดยเฉพาะสายการบินราคาประหยัดซึ่งถือว่ายังขาดบุคลากรด้านช่างอากาศยานอยู่มาก
หลังจากศึกษาข้อมูลอย่างดีแล้ว จึงได้นัดประชุมร่วมกับ นายพชรภณ วีระกิจพานิช นายช่างอากาศยานประจำสถานีภูเก็ต และเดินหน้าประสานร่วมมือนำคณะอาจารย์ผู้เกี่ยวข้องได้เข้าไปศึกษาดูงานโรงเรียนจ่าอากาศ,สถาบันการบินพลเรือน,และ ฝ่ายช่างดอนเมือง บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมจัดทำโครงการหลักสูตรวิชาช่างอากาศยานระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ขึ้น
โดยมีข้อตกลงเบื้องต้นว่า หลักสูตรภาคปฏิบัติจะใช้หลักสูตรที่ประยุกต์มาจากโรงเรียนจ่าอากาศ ส่วนวิชาสามัญยังอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำหรับวิทยากรหลักจะมาจากกองทัพอากาศ สถาบันการบินพลเรือน และวิศวกรจากการบินไทยทั้งหมด เนื่องจากเป็นเรื่องทางเทคนิค และจัดการเรียนการสอนในรูปแบบทวิภาคี คือ เรียนที่วิทยาลัยระยะเวลาหนึ่งและเรียนที่สนามบินอีกระยะเวลาหนึ่ง
หลักสูตรดังกล่าว นอกจากเป็นความต้องการของท่าอากาศยานตลอดจนสายการบินแล้ว ยังเป็นเรื่องที่สอศ.ให้ความสำคัญ เนื่องจากสอศ.มีหน้าที่ผลิตกำลังคนสายปฏิบัติการ และสายงานดังกล่าวก็ต้องการกำลังคนอีกจำนวนมาก เช่น สนามบินภูเก็ต ที่กำลังขยายสนามบินเพื่อยกระดับเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ ดังนั้นหากขยายสนามบินเสร็จ นายช่างอากาศยานที่มีอยู่คงไม่เพียงพอต่อความต้องการของสายการบินที่จะเพิ่ม เที่ยวบินมายังจังหวัดภูเก็ต
ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถทำงานในตำแหน่ง ช่างเทคนิคอากาศยานและเครื่องยนต์ และช่างซ่อมเครื่องจักรกลอากาศยาน ซึ่งช่างสาขานี้ยังมีโอกาสในการทำงานในภาครัฐวิสาหกิจและเอกชนจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนตามวุฒิการศึกษาหรือมากกว่าและอาจมีค่าวิชาเพิ่มให้สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ ส่วนโบนัสขึ้นอยู่กับผลประกอบการ โดยปกติปฏิบัติงานวันละ 8 ชั่วโมง
ส่วนช่างเทคนิคอากาศยานและเครื่องยนต์ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ต้องทำงานเป็นกะละ 8 ชั่วโมง ผู้ที่ทำงานในกะดึก คือรอบที่สามอาจจะได้รับค่าจ้างพิเศษ ในการทำงานอาจมีการ หมุนเวียนกันปฏิบัติงานตามรอบของกะ
การทำงานก็เหมือนช่างทั่วไปเกี่ยวกับงานซ่อมบำรุงที่ต้องกระทำตามแผนเป็นส่วนใหญ่แต่ในบางโอกาสอาจต้องทำงานนอกแผน เนื่องจากอากาศยานมีข้อขัดข้องก่อนครบกำหนดเวลาเข้ารับการซ่อมบำรุงตามแผน ดังนั้นงานช่างซ่อมบำรุงอากาศยานจึงต้องเป็นผู้ที่มีความคล่องตัว สามารถปฏิบัติงานได้ทุกเวลาและอย่างต่อเนื่อง เพื่อจัดเตรียมอากาศยานให้พร้อมทำการบินได้ตามกำหนดเวลา
“งานช่างเทคนิคอากาศยาน และเครื่องยนต์ เป็นงานหนักที่ท้าทายกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้งที่ต้องการทักษะค่อนข้างสูงในการวิเคราะห์ปัญหา มีความละเอียดรอบคอบ เพราะในการบินบางครั้งต้องมีช่างเทคนิคอากาศยาน และเครื่องยนต์ที่ต้องให้บริการ และซ่อมอากาศยานในขณะกำลังบินในกรณีมีปัญหาเครื่องยนต์ขัดข้อง โดยผู้ที่ทำหน้าที่นี้จะต้องมีใบอนุญาตประกอบอาชีพ ในระดับปฏิบัติงานจะทำงานในบริเวณสนามบิน ซึ่งต้องมีช่างเทคนิคอากาศยานและเครื่องยนต์ประจำทุกสนามบินทั่วประเทศ บางครั้งอาจต้องปฏิบัติหน้าที่ในสนามบินในต่างจังหวัด” ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคถลาง กล่าว
การประกอบช่างเทคนิคอากาศยานและเครื่องยนต์ควรที่ จะมีความรู้ภาษาอังกฤษดีพอสมควร สามารถทำคะแนนในวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ได้ดี เมื่อจบแล้วนอกจากทำงานในบริษัทสายการบินทั่วไปแล้ว ยังสามารถทำงานในบริษัทเอกชนที่นำเข้าเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับอากาศยานได้ หากมีประสบการณ์และมีความชำนาญ
สำหรับผู้ที่จะเข้าเรียน ต้องจบประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสาขาช่างไฟฟ้า ช่างอิเล็กทรอนิคส์ ช่างกลโรงงาน หรือ ช่างยนต์ และต้องมีคะแนนโทอิค 250 คะแนน เพราะคู่มือเครื่องบินตลอดจนศัพท์การบินที่ใช้ในเวลาเรียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด
ส่วนคุณสมบัติของผู้สมัครในหลักสูตรดังกล่าวต้องจบประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสาขาช่างไฟฟ้า ช่างอิเล็กทรอนิค ช่างกลโรงงาน หรือ ช่างยนต์ และต้องมีคะแนนโทอิค 250 คะแนน กำหนดเปิดรับสมัครประมาณวันที่ 25 มี.ค.-30 พ.ค.นี้
นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในสายอาชีวะที่ความต้องการสูง จบแล้วมีงานทำทันทีแถมค่าตอบแทนสูง สวัสดิการดี
สนใจติดต่อได้ที่วิทยาลัยเทคนิคถลาง ถนนเมืองใหม่สนามบิน อ.ถลาง จ.ภูเก็ต โทร 076-621-428
ประวัติส่วนตัว
1.ชื่อ ด.ช.ณัฐชนน บุญถิน
2.อายุ 15
3.ชื่อเล่น นัท
4.เกิดวันที่ 13 ส.ค. 43
5.ครอบครัวมีอยู่ 4 คน พ่อ แม่ ผม น้อง
6.พ่อทำงาน ค้าขาย
แม่ทำงานแม่บ้าน
7.ที่อยู่ 104/221 เอกชัย109 ถนนเอกชัย เเขวงบางบอน เขตบางบอน จ.กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์10160
8.สีที่ชอบ สีขาว-ดำ
9.กีฬาที่ชอบ ฟุตบอล
10.ชอบกิน ข้าวผัดหมู
11.วิชาที่ชอบ พละศึกษา
12.อนาคตอยากเป็น วิศวะช่างยนต์
13.งานอดิเรก ฟังเพลง
14.สิ่งที่อยากทำให้พ่อแม่ อยากให้พ่อแม่สุขสบาย
15.คติประจำใจ ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
16.เพื่อนสนิด อ้น กร ต้อม หมี
คอมพิวเตอร์ (computer) เข้ามามีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อสังคมของมนุษย์เราในปัจจุบัน แทบทุกวงการ ล้วนนำคอมพิวเตอร์เข้า ไปเกี่ยวข้องกับการใช้งาน จนกล่าวได้ว่า คอมพิวเตอร์เป็นปัจจัย ที่สำคัญอย่างยิ่งต่อ การดำเนินชีวิตและ การทำงานใน ชีวิตประจำวัน ฉะนั้น การเรียนรู้เพื่อทำ ความรู้จัก กับคอมพิวเตอร์จึงถือเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง เพื่อที่จะ ทราบว่าคอมพิวเตอร์คืออะไร ทำงานอย่างไร และมีความสำคัญต่อมนุษย์อย่างไร
ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ ดังนั้นถ้ากล่าวอย่างกว้าง ๆ เครื่องคำนวณที่มีส่วนประกอบเป็นเครื่องกลไกหรือเครื่องไฟฟ้า ต่างก็จัดเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น ลูกคิดที่เคยใช้กันในร้านค้า ไม้บรรทัด คำนวณ (slide rule) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือประจำตัววิศวกรในยุคยี่สิบปีก่อน หรือเครื่องคิดเลข ล้วนเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งหมด
ในปัจจุบันความหมายของคอมพิวเตอร์จะระบุเฉพาะเจาะจง หมายถึงเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์
คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิด คำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลข และ ตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนียังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้
โครงสร้างข้อมูล (Data Structure)
ในการนำข้อมูลไปใช้นั้น เรามีระดับโครงสร้างของข้อมูลดังนี้
บิต (Bit) คือ ข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปใช้ งานได้ ซึ่งได้แก่ เลข 0 หรือ เลข 1 เท่านั้น
ไบต์ (Byte) หรือ อักขระ (Character) ได้แก่ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ 1 ตัว เช่น 0, 1, …, 9, A, B, …, Z และเครื่องหมายต่างๆ ซึ่ง 1 ไบต์จะเท่ากับ 8 บิต หรือ ตัวอักขระ 1 ตัว เป็นต้น
ฟิลด์ (Field) ได้แก่ ไบต์ หรือ อักขระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปรวมกันเป็นฟิลด์ เช่น เลขประจำตัว(ID) ชื่อพนักงาน(name) เป็นต้น
เรคคอร์ด (Record) ได้แก่ ฟิลด์ตั้งแต่ 1 ฟิลด์ ขึ้นไป ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องรวมกันเป็นเรคคอร์ด เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัว ยอดขาย ข้อมูลของพนักงาน 1 คน เป็น 1 เรคคอร์ด
ไฟล์ (Files) หรือ แฟ้มข้อมูล ได้แก่ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน เช่น ข้อมูลของประวัติพนักงานแต่ละคนรวมกันทั้งหมดเป็นไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับประวัติพนักงานของบริษัท เป็นต้น
ฐานข้อมูล (Database) คือ การเก็บรวบรวมไฟล์ข้อมูลหลายๆ ไฟล์ที่เกี่ยวข้องกันมารวมเข้าด้วยกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลของแผนกต่างๆ มารวมกัน เป็นฐานข้อมูลของบริษัท เป็นต้น
การวัดขนาดข้อมูล
ในการพิจารณาว่าข้อมูลใดมีขนาดมากน้อยเพียงไร เรามีหน่วยในการวัดขนาดของข้อมูลดังต่อไปนี้
8 Bit = 1 Byte
1,024 Byte = 1 KB (กิโลไบต์)
1,024 KB = 1 MB (เมกกะไบต์)
1,024 MB = 1 GB (กิกะไบต์)
1,024 GB = 1TB (เทระไบต์)
1,024 Byte = 1 KB (กิโลไบต์)
1,024 KB = 1 MB (เมกกะไบต์)
1,024 MB = 1 GB (กิกะไบต์)
1,024 GB = 1TB (เทระไบต์)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น